ศูนย์พัฒนางานวิจัยด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
(Center for Developing Research on Sexual and Reproductive Health)
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์พัฒนางานวิจัยด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556
โดยเป็นศูนย์ที่มุ่งเน้นพัฒนาความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ การวิจัย บริการวิชาการและบริการชุมชน โดยเริ่มจากงานวิจัยในการพัฒนา
ระบบการดูแลและการสื่อสารสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธ์ในกลุ่มประชาชนในวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะชนชายขอบ
ได้แก่ แรงงานนอกระบบ สตรีในสถานประกอบการ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น
จากการวิจัยที่ผ่านมาทำให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
จึงเกิดการรวมกลุ่มคณะทำงานภายในคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมาจากหลากหลายสาขาวิชา
เช่น กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา กลุ่มวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ กลุ่มวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
และกลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 12 คน ที่มีความสนใจประเด็นนี้ ก่อตั้งเป็นคณะกรรมการศูนย์ฯ
โดยมีการทำงานร่วมกับสาขาวิชาในคณะอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะการสื่อสารมวลชน
และคณะสังคมศาสตร์) รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ (เช่น สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และสถานพยาบาลในเครือข่าย
สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และสถานพยาบาลในเครือข่ายเป็นต้น)
ภาคเอกชน (มูลนิธิแมพ และเครือข่ายผู้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นต้น) และภาคประชาชน (เช่น กลุ่มคริสตจักรชนเผ่าต่างๆ
กลุ่มแรงงานไทใหญ่ เป็นต้น) เพื่อขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของประชาชนในวัยต่างๆ
วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมศักยภาพทีมนักวิจัยในการทำวิจัยและบริการวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
2.พัฒนาเครือข่ายในการวิจัยและในการทำวิจัยและบริการวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
ทั้งในระดับวิชาชีพ ระดับประเทศ และระดับนานาประเทศ
3.พัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
4.พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
5.พัฒนานวัตกรรมที่ได้จากการทำวิจัย
6.บูรณาการผลงานวิจัย บริการวิชาการ และวิชาการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ในการเรียนการสอน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
1.ด้านการวิจัย ได้แก่
1.1.ชุดโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์” มี 3 โครงการย่อยได้แก่
1) การพัฒนาเครือข่ายในการสื่อสารสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์
2) การพัฒนาแกนนำชาติพันธุ์ และ
3) การสื่อสารสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์และการพัฒนาสื่อสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์
1.2.การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา” สำหรับนักศึกษาพยาบาล
1.3.ความคิดเห็นต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในมุมมองของเด็กวัยรุ่นที่กำลังศึกษาในเมืองเชียงใหม่
1.4.ความต้องการการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
1.5.ภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์
ในสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาอยู่ในเมือง
1.6.ความต้องการข้อมูลของเด็กวัยรุ่นและเยาวชนเกี่ยวกับการป้องกันการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรผ่านสื่อเทคโนโลยี
1.7.ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียน เขตนอกเมือง จังหวัดเชียงใหม่
1.8.การพัฒนาสื่อสุขภาพเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเพศสำหรับเยาวชน
1.9.การพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพทางเพศกับเด็กและเยาวชนสำหรับบุคลากรสุขภาพ
1.10 ผลของการใช้สมุนไพรต่อปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอด
1.11.โครงการย่อย: สุขภาพทางเพศในสตรีวัยเจริญพันธุ์ในโครงการพัฒนาศักยภาพการวิจัยเชิงสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.ด้านบริการวิชาการ ได้แก่
2.1.งานทำร่วมกับภาครัฐ ได้แก่ การร่วมให้ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดทำรหัส ICD 10 ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การร่วมให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนายุทธศาสตร์ในการดูแลระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ จังหวัดเชียงใหม่
2.2.การทำงานร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่การเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธ์ 6 มูลนิธิแมพ
2.3.โครงการประชุมวิชาการและการจัดการความรู้ ได้แก่ การเป็นวิทยากรและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมสัมมนาวิชาการ
เช่น โครงการพัฒนายุทธศาสตร์ในการดูแลระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติในการส่งเสริม
สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พื้นที่ภาคเหนือ โครงการ Workshop: Breastfeeding and Research
ในการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 5 “ภาคีร่วมใจ ช่วยแม่ไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่” โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย
ในการพัฒนาข้อเสนอการวิจัยด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ และเผยแพร่บทความในหนังสือ พิมพ์เชียงใหม่นิวส์
เรื่อง มะเร็งเต้านมเรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง และเรื่องผู้หญิงเข้าใจและรู้ทันกับมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ 053-949-093, 053-949-034
โทรสาร 053-89417
E-mail :
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.